วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ชุดที่ 5 คุณค่าทรัพยากร

          ทรัพยากรธรรมชาติ  หมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และคนสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ได้ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น หรือแปรรูปก่อนนำไปใช้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ เป็นต้น 

          ในแต่ละท้องถิ่น จะมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ลักษณะภูมิประเทศ  สภาพอากาศ อุณหภูมิ เป็นต้น แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นมีประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ เป็นต้น


ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
ลักษณะสำคัญ
ตัวอย่าง
1. ใช้แล้วไม่หมดไป
มีการเกิดขึ้นหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา เราต้องรู้จักใช้อย่างระวังและดูแลรักษาเพื่อไม่ให้เสื่อมคุณภาพหรือเกิดมลพิษ
อากาศ   น้ำ   ดิน


2. ใช้แล้วสามารถสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้
สามารถสร้างขึ้นทดแทนได้ เราต้องใช้อย่างคุ้มค่าและสร้างขึ้นมาทดแทน เพื่อไม่ให้หมดไป
ป่าไม้   สัตว์ป่า

3. ใช้แล้วหมดไป
ใช้เวลานานหลายล้านปีกว่าจะเกิดขึ้นมาได้ เราต้องใช้อย่างประหยัด คุ้มค่า และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเมื่อใช้หมดไปแล้วไม่สามารถเกิดขึ้นมาในเวลา 1 ชั่วอายุคนได้
แร่  น้ำมัน  แก๊สธรรมชาติ





































ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ

          ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมด เช่น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำทรัพยากรอากาศ
2. ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้ เช่น ทรัพยากรสัตว์ป่า
3. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ทรัพยากรแร่









วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมด

ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมด

        ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช่ไม่หมด หมายถึง ทรัพยากร ที่มี อยู่มากเกิน ความต้องการ ใช้อย่างไรก็มี วันหมดสิ้น เพราะธรรมชาติ มีระบบที่ผลิตทรัพยากรชนิดนี้ออก


มา อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก ๆ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี หรือไม่ก็ ไม่ช่วยกันรักษา ก็อาจเสื่อมคุณภาพได้ และใช้ประโยชน์ ได้น้อยลง เช่น อากาศ  แสง เป็นต้น


ทรัพยากรดิน


ดิน เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัว ผุพังของหินและการทับถมของซากพืชซากสัตว์ ทรัพยากรดินจึงมีความสาคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ พืช และสัตว์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินในลักษณะต่างๆ


ประโยชน์ของทรัพยากรดิน

1. เป็นแหล่งเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้น
กำเนิดของการเกษตรกรรม ในดินจะมี
อินทรียวัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการ
เจริญเติบโตของพืช



2. เป็นแหล่งที่อยู่ แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง
และ บ้านเรือน ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่
อาศัยของสัตว์บางชนิด






3. เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบ สำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวดทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือน้ำ อยู่ในรูปของความชื้นในดิน ซึ่งพืชสามารถล้เลียงน้ำในดินไปใช้ในการเจริญเติบโต ถ้ามีน้ำอยู่ในดินปริมาณมากจะกลายเป็นน้ำซึมอยู่ใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี



ปัญหาจากการใช้ทรัพยากรดิน

การใช้ทรัพยากรดินที่ไม่เหมาะสมทำให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมีสาเหตุ ดังนี้
1. การตัดไม้ทำลายป่า
2. การเผาป่า ทำให้ดินสูญเสียความชื้น นอกจากนี้จุลินทรีย์ในดินถูกทำลาย ทำาให้กิจกรรมการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์หยุดชะงักลง ดินปราศจากแร่ธาตุอาหารในดิน พืชจึงขาดแร่ธาตุอาหาร
3. การกัดเซาะของน้ำทำให้ดินพังทลาย และสูญเสียหน้าดินโดยการพัฒนาของน้ำ
4. การถางหญ้าให้หน้าดินเปิด ทำให้หน้าดินไม่มีสิ่งปกคลุม ดังนั้นหน้าดินจึงพัดไปโดยกระแสน้ำและกระแสลมและเป็นสาเหตุให้ดินถูกกัดเซาะง่าย
5. การขุดตักหน้าดินไปขาย เป็นการน้ำดินไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง และยังทำให้พื้นที่บริเวณนั้นๆ เป็นหลุม เป็นบ่อ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยอีกด้วย
6. การใช้สารเคมี ทำให้ดินมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว หรือดินกรด เนื่องจากมีสารพิษ สารเคมีสะสมตกค้างอยู่ในดินส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม


ภาพประกอบ ไฟไหม้ป่า


ทรัพยากรน้ำ


น้ำ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีวันหมดไปจากโลก เพราะมีวัฎจักรของน้ำหมุนเวียน อยู่ตลอดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสัตว์ ใช้ในการดำรงชีวิตและกิจกรรมต่างๆ


ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำ

1. ใช้ในการอุปโภค บริโภค
2. ใช้ในการเกษตรกรรม เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
3. ใช้ในการอุตสาหกรรม
4. ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง
5. ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
6. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ



ภาพประกอบ การคมนาคมทางน้ำ


ปัญหาจากการใช้ทรัพยากรน้ำ

1. การปล่อยน้ำทิ้งและขยะมูลฝอยจาก อาคารบ้านเรือนและแหล่งชุมชน ลงสู่แหล่งน้ำทำให้น้ำเสีย
2. การปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้น้ำมีสารเคมี กากของเสียเจือปนอยู่ในน้ำ
3. น้ำจากแหล่งเกษตรที่มีสารพิษตกค้าง ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย

ขยะก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเน่าเสีย
ภาพประกอบ ขยะ

ทรัพยากรอากาศ

อากาศ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำาคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่ง
มีชีวิตทุกชนิดบนโลก เพราะสิ่งมีชีวิตต้องการอากาศบริสุทธิ์ในการ
หายใจ แต่ถ้าเมื่อใดส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนไป เช่น มีฝุ่นละออง หมอก ควัน เขม่า ไอน้ำ เจือปนอยู่ในอากาศมากเกินไป จนก่อให้เกิดอันตรายต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต ถือว่าเกิดมลพิษทางอากาศ


ประโยชน์ของทรัพยากรอากาศ

อากาศมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตใช้ในการหายใจ
2. พืชใช้ในการสร้างอาหาร
3. เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางอากาศของ
สายการบินต่างๆ
4. ส่วนประกอบของอากาศทำให้เกิดปรากฏการณ์

ทางธรรมชาติ เช่น เมฆ ฝนและลูกเห็บ


ภาพประกอบ ก้อนเมฆ

ภาพประกอบ เครื่องบิน การคมนาคมทางอากาศ


ปัญหาที่ทำให้อากาศเสีย

ปัญหาที่ทำให้อากาศเสียมาจากสิ่งเหล่านี้
1. ควันและแก๊สพิษจากยานพาหนะที่ใช้ในเครื่องยนต์
2. เขม่า ควัน ฝุ่นละอองจากโรงงาอุตสาหกรรม
3. หมอก ควันจากการเผาไหม้

แก็สคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานเมื่อปล่อยออกมามากเกินไปจะทำลายระบบนิเวศได้
ภาพประกอบ การปล่อยแก็สคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงาน
การปล่อยควันไอเสียจากรถยนต์ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
ภาพประกอบ การปล่อยควันไอเสียจากรถยนต์






วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้

ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้ หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่เมื่อนำมาใช้แล้ว ธรรมชาติสามารถ สร้างทดแทนขึ้นในส่วนที่ใช้ไปได้ แต่ต้องใช้เวลานาน พอสมควร ซึ่งถ้ามีการดูแลรักษาและจัดการอย่างถูกวิธีก็จะทำให้ทรัพยากรชนิดนั้น คุณภาพ และปริมาณอย่างเพียงพอที่จะทำให้มนุษย์นำไปใช้อย่างยาวนานโดยไม่ต้องเดือดร้อน เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น

ทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งรวมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ นับว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยที่สำคัญสำหรับมนุษย์ และยังช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมากๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำอากาศ เป็นต้น




ทรัพยากรป่าไม้ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ ป่าผลัดใบ และป่าไม่ผลัดใบ


ภาพประกอบ ป่าเบญจพรรณ

ป่าผลัดใบ เป็นป่าที่ผลัดใบในฤดูแล้ง ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม จึงทำให้ป่าดูโปร่งขึ้นแต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนต้นไม้จะผลิใบดูเขียวชอุ่ม ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าหญ้า






ภาพประกอบ ป่าสน

ป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และเขียวชอุ่มตลอดปี ได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าชายหาด ป่าชายเลน และป่าพรุ






ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1. เป็นแหล่งปัจจัยสี่ของมนุษย์
2. เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร
3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นานาชนิด
4. เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้
5. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นและควบคุมสภาพอากาศทำให้ฝนตกตามฤดูกาล และไม่เกิดความแห้งแล้ง
6. ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศทำให้เกิดความสมดุล
7. ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุ และป้องกันอุทกภัย


ป่าไม้นั้นนอกจากจะเป็นแหล่งปัจจัยสี่ของมนุษย์แล้วยังเป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้อีกด้วย



ป่าไม้ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศทำให้เกิดความสมดุล



ปัญหาจากการใช้ทรัพยากรป่าไม้

การลักลอบตัดไม้ทำาลายป่ามีสาเหตุ
เช่น
1. การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินทำเหมืองแร่
2. การลักลอบตัดไม้เพื่อแปรรูป เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ จึงเป็นเหตุจูงใจให้มีการลักลอบการตัดไม้ทำลายป่า
3. การใช้เป็นพื้นที่ทางการเกษตรแต่ขาดการวางแผน
4. การสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น ถนน เขื่อน อ่างเก็บน้ำ

ภาพประกอบ การตัดไม้

ทรัพยากรสัตว์ป่า

สัตว์ป่า เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่ง ที่มีคุณค่าต่อมนุษย์และทำให้ธรรมชาติ มีความงดงามและสมบูรณ์ในตนเอง

สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ห้ามล่า ห้ามค้าห้ามนำเข้าหรือส่งออกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตมีทั้งหมด 7 จำพวก

สัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 หมายถึงสัตว์ป่าหายากห้ามล่า หรือห้ามมีไว้ในครอบครองโดยเด็ดขาด มีทั้งหมด 15 ชนิด ดังนี้

1. นกกระเรียน 
2. นกแต้วแร้วท้องดำ 
3. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 
4. พะยูน 
5. สมเสร็จ 
6. ละองหรือละมั่ง 
7. สมัน 
8. กวางผา
9. เก้งหม้อ
10. แมวลายหินอ่อน
11. ควายป่า
12. กูปรี
13. แรด
14. กระซู่
15. เลียงผา

ประโยชน์ของทรัพยากรสัตว์ป่า

1. ช่วยรักษาสมดุลในธรรมชาติ
2. เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
3. ช่วยให้ธรรมชาติมีความงดงามและสภาพป่าสมบูรณ์
4. เป็นแหล่งศึกษาและแหล่งเรียนรู้ วิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์
5. ช่วยให้มีการหมุนเวียนสารและถ่ายทอดพลังงานในโซ่อาหารและสายใยอาหาร




ปัญหาที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์ป่าลดลง

1. ถูกมนุษย์ล่าเป็นอาหาร เป็นเกมกีฬา และทำเครื่องประดับ ตกแต่ง
2. สัตว์ป่าไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้
3. เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ไฟป่า น้ำท่วม ทำให้สัตว์ป่าล้มตายจำนวนมาก
4. แหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย เช่น การสร้างถนน การสร้างเขื่อน สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่จึงถูกล่าและล้มตาย
5. ถูกมนุษย์จับเพื่อการค้า และลักลอบส่งขายนอกประเทศ

มนุษย์ล่าสัตว์เพื่อนำมาทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องประดับ

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป

ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป

          ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เมื่อนำมาใช้หมดไปไม่สามารถสร้างทดแทนใหม่ได้หรือต้องใช้ระยะเวลานานนับหลายหมื่นหรือหลายแสนปีกว่าธรรมชาติจะสร้างขึ้นใหม่ได้ เช่น แร่ธาตุชนิดต่างๆ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น


ทรัพยากรแร่

ทรัพยากรแร่ แร่เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความสำคัญและมีบทบาทที่สนองความต้องการทางด้านปัจจัยต่างๆ ของมนุษย์ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและพลังงาน แร่สามารถจำแนกเป็น
ประเภทต่างๆ ดังนี้


1. แร่โลหะ คือ แร่ที่นำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก


ภาพประกอบ แท่งเงิน
2. แร่อโลหะ คือ แร่ที่ไม่ได้มีการถลุง เช่น
- แร่ประกอบหิน คือ แร่ต่างๆ ที่พบในหินชนิดต่างๆ
- แร่รัตนชาติหรือเรียกว่า อัญมณี ส่วนมากเกิดในรูปผลึก มีสีสวย ความแข็งสูง

- แร่เชื้อเพลิง จัดเป็นพวกอินทรีย์หรือสารซึ่งกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น หินน้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน


ภาพประกอบ อัญมณี

ประโยชน์ของทรัพยากรแร่

1. ด้านสาธารณูปโภค
- ใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านไม้ เช่น แก๊สหุงต้ม
- ใช้ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม
2. ด้านการขนส่ง
- ใช้เป็นเชื้อเพลิง ให้กับยานพาหนะ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม
3. ด้านอุตสาหกรรม
- ใช้เป็นเชื้อเพลิง
- ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า
4. ด้านการมีงานอาชีพ
- ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เช่น แร่รัตนชาติ นำมาสร้างงานอาชีพ ทำสร้อยคอ แหวน เข็มกลัด
5. ด้านการเพิ่มรายได้ของประเทศ
- ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าส่งออกของประเทศหรือส่งออกแร่โดยตรง เช่น ดีบุก เหล็ก ทองแดง

เพชร เป็นหนึ่งในอัญมณีที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ มีความแข็งแกร่งสูงและราคาแพง
ภาพประกอบ เพชร

ปัญหาที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรแร่

1. การทำเหมืองแร่อาจทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งนำใกล้เคียงเสื่อมโทรม เพราะเกิดจากการชะล้างที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ลงสู่แหล่งน้ำ เช่น แหล่งน้ำมีสารหนูเงิน สังกะสี ทองแดง ตะกั่วปนเปื้อน อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนผู้นำน้ำไปใช้เพื่อบริโภคและอุปโภค
2. การเปิดหน้าเหมืองแร่เป็นการพลิกหน้าดินทำให้ผิวดินบริเวณนั้นขาดความอุดมสมบูรณ์
3. การใช้ทรัพยากรแร่บางชนิด เช่น แร่เชื้อเพลิง อย่างไม่ประหยัด อาจทำให้ขาดแคลนเชื้อเพลิงดังกล่าวตลอดไป


ภาพประกอบ เหมืองแร่



ภาพประกอบ โรงงานอุตสาหกรรม