โครงสร้างของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นระบบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ต่างจะเป็นไปอย่างมีระบบ จึงเรียกว่า ระบบนิเวศ โครงสร้างของระบบนิเวศ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงสร้างทางชีวภาพ
โครงสร้างทางชีวภาพ (Biological Structure) ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทหน้าที่ต่างๆกัน ในระบบนิเวศ ได้แก่
ผู้ผลิต (Producer)
ได้แก่
สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง ปล่อยออกซิเจนให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
ผู้ผลิตที่พบเสมอในบริเวณสระน้ำ ได้แก่ ต้นหญ้า สาหร่ายห่างกระรอก สาหร่ายพุงชะโด
บัว จอก ผักตบชวา แหน รวมทั้งผู้ผลิตขนาดเล็กๆที่ลอยไปตามผิวน้ำที่เรียกว่า
แพลงก์ตอนพืช ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารชั้นต้นในระบบนิเวศ
ผู้บริโภค (Consumer)
ได้แก่
สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตประเภทที่สร้างอาหารเองไม่ได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ
เช่น ไรน้ำ หนอนจักร หนอนแดง ตัวอ่อนของแมลงชนิดต่างๆ กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น
รูปประกอบ ราบนชีส |
ผู้ย่อยสลาย (Decomposer)
หมายถึง
สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้แต่จะได้อาหารจากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เช่น
เห็ด รา และจุลินทรีย์ต่างๆ
๒. โครงสร้างทางกายภาพ
โครงสร้างทางกายภาพ (Physiological Structure) ประกอบด้วยสิ่งไม่มีชีวิตแต่มีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
อนินทรียสาร (Inorganic
Substance) ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน น้ำ ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส
ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ
อินทรียสาร (Organic
Substance) ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
ไขมัน ฯลฯ ซึ่งพืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลาย ทำการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical
Environment) ได้แก่ แสง อุณหภูมิความชื้น
น้ำฝน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น