วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ชุดที่ 3 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

                    สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยพยายามปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมซึ่งจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสงสว่าง เป็นต้น ในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตนอกจากจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแล้ว สิ่งมีชีวิตด้วยกันยังมีความสัมพันธ์กันอีกด้วย

                    จึงอาจจำแนกลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมได้ 2 ประการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต


สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต  ได้แก่



1.  แสง ปริมาณแสงในธรรมชาติแต่ละแห่งแตกต่างกันทำให้แต่ละ
บริเวณ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ต่างกัน มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต 
เช่น
เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
-  มีอิทธิพลต่อการหุบหรือบานของใบและดอกของพืชหลายชนิด เช่น ใบกระถิน ใบไมยราบเป็นต้น


แสงจากดวงอาทิตย์ นอกจากช่วยให้ความอบอุ่นแล้ว ยังเป็นแสงสว่างที่ช่วยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆอีกด้วย

ภาพประกอบ แสงจากดวงอาทิตย์



2. น้ำ มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้
-  เป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างอาหารของพืช และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
เป็นตัวทำละลายที่สำคัญที่ทำให้แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในดินละลายและซึมสู่พื้นดินให้พืชสามารถนำไปใช้ได้
เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
-  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต



น้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

ภาพประกอบ น้ำ

3. ดิน พืชใช้ดินเป็นแหล่งที่อยู่ในการเจริญเติบโตเพราะในดินมีธาตุอาหารที่สำคัญของพืช สัตว์ใช้ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ดังนั้นดินจึงมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัย แหล่งอาหาร ผสมพันธุ์ และเลี้ยงตัวอ่อน
เป็นตัวการสำคัญในการจำกัดชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของพืชในสภาพแวดล้อมนั้นๆ
ช่วยในการผสมพันธุ์ของพืชดอก
ช่วยในการกระจายของเมล็ดพันธุ์พืชไปในบริเวณกว้าง
มีผลต่อพืชในการนำธาตุอาหารจากดินไปใช้ได้มากหรือน้อยได้
มีผลต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน
มีผลต่อการปลดปล่อยธาตุ N, P, S จากอินทรียวัตถุเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพืช


เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง


ภาพประกอบ ดิน


4. กระแสลม มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้
ช่วยในการผสมพันธุ์ของพืชดอก
ช่วยในการกระจายของเมล็ดพันธุ์พืชไปในบริเวณกว้าง
- ช่วยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น นกใช้ลมในการช่วยบิน 


ดอกแดนดิไลออน ขยายพันธุ์โดยใช้ลมในการพัดเมล็ดให้ปลิวไปตามอากาศ

ภาพประกอบ ดอกแดนดิไลออน



5. อุณหภูมิ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ดังนี้
มีผลต่อการหุบหรือบานของดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกบัว จะบาน ในตอนกลางวันแต่จะหุบในตอนกลางคืน เป็นต้น
- มีผลต่อการคายน้ำของพืช
-  มีผลต่อการกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเนื่องจากพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเมืองหนาว เช่น สตรอเบอรี่ สาลี่แอปเปิล เป็นต้น แต่พืชบางชนิด จะเจริญเติบโตได้ดีในเมืองร้อน เช่น ทุเรียน มะละกอเป็นต้น
-  มีผลต่อลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เช่นสัตว์ในเขตหนาวจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสัตว์ที่อยู่ในเขตร้อนหรือสัตว์บางชนิดที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนหนามากกว่าสัตว์ในเขตร้อน
-  มีผลต่อพฤติกรรมบางประการของสัตว์ เช่น การจำศีลในฤดูหนาว ของหมีขั้วโลก เป็นต้น
- มีอิทธิพลต่อการอพยพย้ายถิ่นชั่วคราวของสัตว์หลายชนิด เช่น   การอพยพของของนกนางแอ่นจากประเทศจีนมายังประเทศไทย การอพยพของนกนางนวล


การอพยพของห่านป่าในฤดูหนาว

ภาพประกอบ ห่านป่า



 6. สภาพความเป็นกรด-ด่าง มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้
มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
มีผลต่อพืชในการนำธาตุอาหารจากดินไปใช้ได้มากหรือน้อยได้
มีผลต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน
- มีผลต่อการปลดปล่อยธาตุ N, P, S จากอินทรียวัตถุเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพืช



            7. แก๊ส ได้แก่ แก๊สออกซิเจนเป็นแก๊สที่คน สัตว์ พืช ใช้ในการหายใจ และคายแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ถ้าอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตได้อย่างปกติ แต่ ถ้าไม่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ก็จะทำให้เกิดอันตราย จนไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้


แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม หากไม่ควบคุมปริมาณการปล่อย อาจจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้

ภาพประกอบ การปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรม




4 ความคิดเห็น: