วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

ชุดที่ 4 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต    

      ในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่แต่ละแหล่งจะมีโครงสร้างเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่นั้นจึงจะอยู่รอดได้


ความหมายของการปรับตัว

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต (adaptation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่รอด สืบพันธุ์ได้ จึงไม่สูญพันธุ์

              จากหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่า สิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปอยู่ตลอดเวลา ยกเว้น การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือการกระทำของมนุษย์ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องพยายามปรับตัวในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้าน เพื่อให้อยู่รอดได้ หากลักษณะที่เปลี่ยนไปนั้นเหมาะสมกับแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อม และสามารถถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ไปสู่รุ่นต่อๆ ไปได้ ก็จะไม่สูญพันธุ์ หากไม่เหมาะสมก็อาจสูญพันธุ์ได้ เป็นไปตามทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติและกฎเมนเดล


              ในที่สุดการปรับตัวเหล่านี้ก็ทำให้เกิดการวิวัฒนาการกลายเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หรือชนิดพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะต่างจากบรรพบุรุษ ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ หรือหากผสมพันธุ์กันได้ลูกที่เกิดมาจะเป็นหมัน ฯลฯ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่เคยมีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ใหม่จนเกิดวิวัฒนาการได้สปีชีส์ใหม่ขึ้นมา เช่น ยีราฟกับโอคาพี อูฐกับอัลปากาและยามา(ลามา)  เป็นต้น


ยีราฟ 

ยีราฟ เป็นสัตว์ที่กินพืช วิวัฒนาการให้กินบนหญ้าพุ่มไม้สูง ๆ เนื่องจากสภาพแวดล้อมทะเลทรายที่หาอาหารยาก


ภาพประกอบ ยีราฟ

โอคาพี

โอคาพี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นอันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์ Giraffidae เช่นเดียวกับยีราฟ วิวัฒนาการมีลายตรงก้นและขาหลังเหมือนม้าลาย โดยแถบดำบนตัวของโอคาพีนั้น จะเป็นสิ่งที่ช่วยพรางตัวในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้โอคาพีวัยอ่อนสามารถที่จะสังเกตเห็นแม่ของตัวเองได้ง่ายขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าฝนที่หนาทึบอีกด้วย

ภาพประกอบ โอคาพี

อูฐ

อูฐ เป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์ เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่นทะเลทรายได้เป็นอย่างดี


ภาพประกอบ อูฐ

ยามา

ยามาหรือลามา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) ยามาเป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาดและสามารถเรียนรู้งานง่าย ๆ ได้หลังจากทำซ้ำเพียงไม่กี่ครั้ง เมื่อแบกสัมภาระ ยามาสามารถแบกสิ่งของได้ราวร้อยละ 25-30 ของน้ำหนักตัวในการเดินทางในระยะ 8-13 กิโลเมตร (5-8 ไมล์)


ภาพประกอบ ลามา



อัลปากา

อัลปากา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวยามาแต่จะแตกต่างกันตรงที่อัลปากาไม่ได้ถูกเลี้ยงไว้ใช้ขนสัมภาระ แต่จะถูกเลี้ยงเพื่อนำขนมาทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้

อัลปากาเป็นสัตว์ที่มีความทรหดอดทนมาก โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร (11,000 ฟุต) ถึง 5,000 เมตร (16,000 ฟุต)


ภาพประกอบ อัลปากา



---------------------------------------------------------------------------------              การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตจนกระทั่งเกิดวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้นนี้ 

จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างหนึ่ง

---------------------------------------------------------------------------------







วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

รูปแบบการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต

           รูปแบบการปรับตัว

              การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะอยู่รอดหรือจะสูญพันธุ์ไปในที่สุดหรือไม่ขึ้นอยู่กับ การหาอาหาร การล่าเหยื่อ การต่อสู้หรือหลบหนีผู้ล่า การสืบพันธุ์ การเติบโต เป็นต้น ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงต้องปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนรูปร่าง ลักษณะ พฤติกรรม ฯลฯ เพื่อให้อยู่รอด การปรับตัวแบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ดังนี้


       1. การปรับตัวด้านรูปร่าง ลักษณะ หน้าที่ ( morphological adaptation ) 

เป็นการปรับเปลี่ยนรูปร่าง โครงสร้างภายในหรือภายนอกร่างกาย สีผิว สีขน ฯลฯ ให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เพื่อหาอาหาร หลบภัย สืบพันธุ์ เป็นต้น 


1.1 การปรับตัวด้านรูปร่างลักษณะของพืช




ผักตบชวา
เป็นพืชที่มีโคนก้านพองออกภายในมีโพรงอากาศมาก ทำให้ลำต้นมีน้ำหนักเบาและลอยน้ำได้







เมล็ดของต้นยาง
เป็นพืชที่ต้องอาศัยลมช่วยในการขยายพันธ์ มีปีกและน้ำหนักเบาเพื่อให้สามารถลอยไปตกในที่ไกลๆ ได้



ต้นโกงกาง
เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน มีรากค้ำจุนแตกแขนงทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้น ช่วยพยุงลำต้นไม่ให้ล้มเมื่อน้ำทะเลขึ้นลง รากบางส่วนโผล่มาจากดินเพื่อหายใจขณะน้ำทะเล ท่วมดิน ป่าชาย





เครดิตภาพ: https://es.wikipedia.org/wiki/Neptunia_oleracea

ผักกระเฉด
มีการปรับตัวให้ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ โดยทำให้มีนวมสีขาวลักษณะคล้ายฟองน้ำหุ้มเอาไว้








1.2 การปรับตัวด้านรูปร่างลักษณะของสัตว์





อูฐ มีขนตายาวหนาเมื่อหลับตาจะปิดสนิท มิให้ทรายเข้าตาเวลามีพายุทราย 










ตั๊กแตนกิ่งไม้  มีสีและรูปร่างเหมือนใบไม้ เพื่อซ่อนตัวจากผู้ล่า








กบ
เป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก มีขาหลังยาวและแข็งแรง กระโดดได้สูง ทำให้เคลื่อนที่ไปตามดินโคลนได้สะดวก เท้าเป็นพังผืดท้ให้ว่ายน้ำได้คล่อง








นกฮูก มีลายและสีขนคล้ายเปลือกไม้ เพื่อซ่อนตัวเวลาออกล่าเหยื่อ









              สัตว์หลายชนิด เช่น ตุ๊กแกหางใบไม้ กบหรือกิ้งก่าบางชนิด มีรูปร่าง สีผิวและลวดลายคล้ายกิ่งไม้ เพื่อหาอาหารและหลบผู้ล่าซึ่งถือเป็นการแสดงพฤติกรรมการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ก็คือ การพรางตัว นั่นเอง

2 การปรับตัวด้านสรีรวิทยา ( physiological adaptation )

                   เป็นการปรับตัวเกี่ยวกับหน้าที่และกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิต 


2.1 การปรับตัวด้านสรีรวิทยาของพืช




ต้นกระบองเพชร ในทะเลทรายเปลี่ยนใบเป็นหนาม ลำตันอวบกักเก็บน้ำไว้ได้ดีและมีสารคล้ายขี้ผึ้งเคลือบผิวไว้ เพื่อลดการคายน้ำ 




ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
เป็นพืชที่ขึ้นในบริเวณที่แห้งแล้ง
ขาดความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร
จะปรับลักษณะใบให้เป็นอวัยวะดักจับ
สัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงแล้วปล่อย
น้ำย่อยออกมาย่อยแมลง เพื่อรับธาตุอาหารมาทดแทนธาตุอาหารจากดิน






กาบหอยแครง
เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง การขาดแคลนสารอาหารในดินทำให้พืชต้องอาศัยกับดักที่ละเอียดอ่อนซึ่งเหยื่อแมลงจะให้ไนโตรเจนสำหรับการสร้างโปรตีนซึ่งหาไม่ได้ในดิน 




2.2 การปรับตัวด้านสรีรวิทยาของสัตว์




อูฐ
อูฐมีหลอดไตส่วนต้นที่อยู่ในหน่วยไตยาวกว่าสัตว์อื่นค่อนข้างมาก ไตจึงดูดน้ำกลับได้ดีทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ 










กิ้งก่าคาเมเลียน
กิ้งก่าคาเมเลียนเปลี่ยนสีผิวเพื่อสื่อสารกับกิ้งก่าตัวอื่นในกลุ่ม 










อีกัวนาทะเล
อีกัวนาทะเลที่หมู่เกาะกาลาปากอสมีต่อมข้างจมูก สำหรับพ่นน้ำเกลือที่ได้รับมาจากการกินสาหร่ายใต้ทะเลออกจากร่างกาย 




ปลาตีน
ปลาตีนหัวมีขนาดโต มีตาหนึ่งคู่ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของหัวโปนออกมาเห็นได้ชัด ดวงตาสามารถกรอกไปมาได้ จึงใช้มองเห็นได้ดีเมื่อพ้นน้ำ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้ โดยใช้ครีบอกที่แข็งแรงไถลตัวไปตามพื้นเลนและสามารถกระโดดได้ด้วย 

และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนบกได้เป็นเวลานานเนื่องจากมีอวัยวะพิเศษอยู่ข้างเหงือกที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นจากน้ำได้ และจะสูดอากาศบนบกเข้าปาก เพื่อนำออกซิเจนเข้าไปผสมกับน้ำเพื่อหายใจผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป


 3.การปรับตัวด้านพฤติกรรม ( behavioral adaptation )


                   เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่ เกี่ยวกับ การหาอาหาร การสืบพันธุ์ การอพยพเนื่องด้วยปัจจัยทางกายภาพ ซึ่งอาจเป็นการปรับตัวชั่วคราวหรือถาวรก็ได้  

เช่น 

ไฮยีนาออกหากินในเวลากลางคืน เนื่องจากในตอนกลางวันทะเลทรายมีอากาศร้อนจัด 

ภาพประกอบ หมาป่าไฮยีนา


ปลาแซลมอนจะว่ายจากทะเลทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ในลำธารน้ำจืด 


ภาพประกอบ ปลาแซลมอนว่ายทวนกระแสน้ำไปวางไข่


การอพยพของนกในเขตหนาวบางชนิดมายังเขตอบอุ่นหรือเขตร้อนชั่วคราว เพื่อหาอาหารและผสมพันธุ์ แล้วอพยพกลับเมื่อสิ้นฤดูหนาว 

ภาพประกอบ การอพยพของห่านป่ามนฤดูหนาว

สัตว์จำพวกแมลง นก สัตว์เลือดเย็น และสัตว์เลือดอุ่นบางชนิด จะจำศีลในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูร้อน เพราะความลำบากในการหาอาหาร เช่น หมี กบ งูหางกระดิ่ง ดอร์เมาส์ (สัตว์ตระกูลหนูชนิดหนึ่ง) ปลาช่อน ปลาปอดออสเตรเลีย ฯลฯ

หมีขาวใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้ แล้วเข้าสู่ถ้ำเพื่อจำศีล เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว หิมะและน้ำแข็งเริ่มละลาย แสงแดดกลับมาอีกครั้ง จึงจะสิ้นสุดการจำศีล

ภาพประกอบ หมีขาว

     การจำศีล (Hibernation) คือ ระยะเวลาที่สัตว์หยุดการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำตามปกติ โดยการนอนหลับเพื่อถนอมพลังงาน ทำให้ร่างกายใช้พลังงานน้อยที่สุด เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดได้จนสิ้นสุดการจำศีล




              การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในด้านรูปร่างลักษณะ สรีรวิทยา และพฤติกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและดำรงชีวิตอยู่รอดได้ ไม่สูญพันธุ์ เป็นไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งลักษณะที่ปรับเปลี่ยนนี้ส่วนมากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในหน่วยพันธุกรรม จึงถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆ ไปได้ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการได้สิ่งมีชีวิตสปีชีส์หรือชนิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา และส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเช่นกัน