วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

ชุดที่ 4 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต    

      ในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่แต่ละแหล่งจะมีโครงสร้างเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่นั้นจึงจะอยู่รอดได้


ความหมายของการปรับตัว

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต (adaptation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่รอด สืบพันธุ์ได้ จึงไม่สูญพันธุ์

              จากหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่า สิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปอยู่ตลอดเวลา ยกเว้น การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือการกระทำของมนุษย์ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องพยายามปรับตัวในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้าน เพื่อให้อยู่รอดได้ หากลักษณะที่เปลี่ยนไปนั้นเหมาะสมกับแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อม และสามารถถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ไปสู่รุ่นต่อๆ ไปได้ ก็จะไม่สูญพันธุ์ หากไม่เหมาะสมก็อาจสูญพันธุ์ได้ เป็นไปตามทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติและกฎเมนเดล


              ในที่สุดการปรับตัวเหล่านี้ก็ทำให้เกิดการวิวัฒนาการกลายเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หรือชนิดพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะต่างจากบรรพบุรุษ ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ หรือหากผสมพันธุ์กันได้ลูกที่เกิดมาจะเป็นหมัน ฯลฯ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่เคยมีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ใหม่จนเกิดวิวัฒนาการได้สปีชีส์ใหม่ขึ้นมา เช่น ยีราฟกับโอคาพี อูฐกับอัลปากาและยามา(ลามา)  เป็นต้น


ยีราฟ 

ยีราฟ เป็นสัตว์ที่กินพืช วิวัฒนาการให้กินบนหญ้าพุ่มไม้สูง ๆ เนื่องจากสภาพแวดล้อมทะเลทรายที่หาอาหารยาก


ภาพประกอบ ยีราฟ

โอคาพี

โอคาพี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นอันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์ Giraffidae เช่นเดียวกับยีราฟ วิวัฒนาการมีลายตรงก้นและขาหลังเหมือนม้าลาย โดยแถบดำบนตัวของโอคาพีนั้น จะเป็นสิ่งที่ช่วยพรางตัวในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้โอคาพีวัยอ่อนสามารถที่จะสังเกตเห็นแม่ของตัวเองได้ง่ายขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าฝนที่หนาทึบอีกด้วย

ภาพประกอบ โอคาพี

อูฐ

อูฐ เป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์ เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่นทะเลทรายได้เป็นอย่างดี


ภาพประกอบ อูฐ

ยามา

ยามาหรือลามา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) ยามาเป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาดและสามารถเรียนรู้งานง่าย ๆ ได้หลังจากทำซ้ำเพียงไม่กี่ครั้ง เมื่อแบกสัมภาระ ยามาสามารถแบกสิ่งของได้ราวร้อยละ 25-30 ของน้ำหนักตัวในการเดินทางในระยะ 8-13 กิโลเมตร (5-8 ไมล์)


ภาพประกอบ ลามา



อัลปากา

อัลปากา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวยามาแต่จะแตกต่างกันตรงที่อัลปากาไม่ได้ถูกเลี้ยงไว้ใช้ขนสัมภาระ แต่จะถูกเลี้ยงเพื่อนำขนมาทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้

อัลปากาเป็นสัตว์ที่มีความทรหดอดทนมาก โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร (11,000 ฟุต) ถึง 5,000 เมตร (16,000 ฟุต)


ภาพประกอบ อัลปากา



---------------------------------------------------------------------------------              การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตจนกระทั่งเกิดวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้นนี้ 

จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างหนึ่ง

---------------------------------------------------------------------------------







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น