รูปแบบการปรับตัว
การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะอยู่รอดหรือจะสูญพันธุ์ไปในที่สุดหรือไม่ขึ้นอยู่กับ การหาอาหาร การล่าเหยื่อ การต่อสู้หรือหลบหนีผู้ล่า การสืบพันธุ์ การเติบโต เป็นต้น ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงต้องปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนรูปร่าง ลักษณะ พฤติกรรม ฯลฯ เพื่อให้อยู่รอด การปรับตัวแบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ดังนี้1. การปรับตัวด้านรูปร่าง ลักษณะ หน้าที่ ( morphological adaptation )
เป็นการปรับเปลี่ยนรูปร่าง โครงสร้างภายในหรือภายนอกร่างกาย สีผิว สีขน ฯลฯ ให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เพื่อหาอาหาร หลบภัย สืบพันธุ์ เป็นต้น1.1 การปรับตัวด้านรูปร่างลักษณะของพืช
ผักตบชวา
เป็นพืชที่มีโคนก้านพองออกภายในมีโพรงอากาศมาก ทำให้ลำต้นมีน้ำหนักเบาและลอยน้ำได้
เมล็ดของต้นยาง
เป็นพืชที่ต้องอาศัยลมช่วยในการขยายพันธ์ มีปีกและน้ำหนักเบาเพื่อให้สามารถลอยไปตกในที่ไกลๆ ได้
เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน มีรากค้ำจุนแตกแขนงทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้น ช่วยพยุงลำต้นไม่ให้ล้มเมื่อน้ำทะเลขึ้นลง รากบางส่วนโผล่มาจากดินเพื่อหายใจขณะน้ำทะเล ท่วมดิน ป่าชาย
เครดิตภาพ: https://es.wikipedia.org/wiki/Neptunia_oleracea |
ผักกระเฉด
มีการปรับตัวให้ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ โดยทำให้มีนวมสีขาวลักษณะคล้ายฟองน้ำหุ้มเอาไว้
1.2 การปรับตัวด้านรูปร่างลักษณะของสัตว์
อูฐ มีขนตายาวหนาเมื่อหลับตาจะปิดสนิท มิให้ทรายเข้าตาเวลามีพายุทราย
ตั๊กแตนกิ่งไม้ มีสีและรูปร่างเหมือนใบไม้ เพื่อซ่อนตัวจากผู้ล่า
กบ
เป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก มีขาหลังยาวและแข็งแรง กระโดดได้สูง ทำให้เคลื่อนที่ไปตามดินโคลนได้สะดวก เท้าเป็นพังผืดท้ให้ว่ายน้ำได้คล่อง
นกฮูก มีลายและสีขนคล้ายเปลือกไม้ เพื่อซ่อนตัวเวลาออกล่าเหยื่อ
สัตว์หลายชนิด เช่น ตุ๊กแกหางใบไม้ กบหรือกิ้งก่าบางชนิด มีรูปร่าง สีผิวและลวดลายคล้ายกิ่งไม้ เพื่อหาอาหารและหลบผู้ล่าซึ่งถือเป็นการแสดงพฤติกรรมการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ก็คือ การพรางตัว นั่นเอง
2 การปรับตัวด้านสรีรวิทยา ( physiological adaptation )
เป็นการปรับตัวเกี่ยวกับหน้าที่และกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิต2.1 การปรับตัวด้านสรีรวิทยาของพืช
ต้นกระบองเพชร ในทะเลทรายเปลี่ยนใบเป็นหนาม ลำตันอวบกักเก็บน้ำไว้ได้ดีและมีสารคล้ายขี้ผึ้งเคลือบผิวไว้ เพื่อลดการคายน้ำ
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
เป็นพืชที่ขึ้นในบริเวณที่แห้งแล้ง
ขาดความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร
จะปรับลักษณะใบให้เป็นอวัยวะดักจับ
สัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงแล้วปล่อย
น้ำย่อยออกมาย่อยแมลง เพื่อรับธาตุอาหารมาทดแทนธาตุอาหารจากดิน
กาบหอยแครง
เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง การขาดแคลนสารอาหารในดินทำให้พืชต้องอาศัยกับดักที่ละเอียดอ่อนซึ่งเหยื่อแมลงจะให้ไนโตรเจนสำหรับการสร้างโปรตีนซึ่งหาไม่ได้ในดิน
2.2 การปรับตัวด้านสรีรวิทยาของสัตว์
อูฐ
อูฐมีหลอดไตส่วนต้นที่อยู่ในหน่วยไตยาวกว่าสัตว์อื่นค่อนข้างมาก ไตจึงดูดน้ำกลับได้ดีทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
กิ้งก่าคาเมเลียน
กิ้งก่าคาเมเลียนเปลี่ยนสีผิวเพื่อสื่อสารกับกิ้งก่าตัวอื่นในกลุ่ม
อีกัวนาทะเล
อีกัวนาทะเลที่หมู่เกาะกาลาปากอสมีต่อมข้างจมูก สำหรับพ่นน้ำเกลือที่ได้รับมาจากการกินสาหร่ายใต้ทะเลออกจากร่างกาย
ปลาตีน
ปลาตีนหัวมีขนาดโต มีตาหนึ่งคู่ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของหัวโปนออกมาเห็นได้ชัด ดวงตาสามารถกรอกไปมาได้ จึงใช้มองเห็นได้ดีเมื่อพ้นน้ำ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้ โดยใช้ครีบอกที่แข็งแรงไถลตัวไปตามพื้นเลนและสามารถกระโดดได้ด้วย
และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนบกได้เป็นเวลานานเนื่องจากมีอวัยวะพิเศษอยู่ข้างเหงือกที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นจากน้ำได้ และจะสูดอากาศบนบกเข้าปาก เพื่อนำออกซิเจนเข้าไปผสมกับน้ำเพื่อหายใจผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป
กิ้งก่าคาเมเลียน
กิ้งก่าคาเมเลียนเปลี่ยนสีผิวเพื่อสื่อสารกับกิ้งก่าตัวอื่นในกลุ่ม
อีกัวนาทะเล
อีกัวนาทะเลที่หมู่เกาะกาลาปากอสมีต่อมข้างจมูก สำหรับพ่นน้ำเกลือที่ได้รับมาจากการกินสาหร่ายใต้ทะเลออกจากร่างกาย
ปลาตีน
ปลาตีนหัวมีขนาดโต มีตาหนึ่งคู่ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของหัวโปนออกมาเห็นได้ชัด ดวงตาสามารถกรอกไปมาได้ จึงใช้มองเห็นได้ดีเมื่อพ้นน้ำ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้ โดยใช้ครีบอกที่แข็งแรงไถลตัวไปตามพื้นเลนและสามารถกระโดดได้ด้วย
และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนบกได้เป็นเวลานานเนื่องจากมีอวัยวะพิเศษอยู่ข้างเหงือกที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นจากน้ำได้ และจะสูดอากาศบนบกเข้าปาก เพื่อนำออกซิเจนเข้าไปผสมกับน้ำเพื่อหายใจผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป
3.การปรับตัวด้านพฤติกรรม ( behavioral adaptation )
เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่ เกี่ยวกับ การหาอาหาร การสืบพันธุ์ การอพยพเนื่องด้วยปัจจัยทางกายภาพ ซึ่งอาจเป็นการปรับตัวชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
เช่น
ไฮยีนาออกหากินในเวลากลางคืน เนื่องจากในตอนกลางวันทะเลทรายมีอากาศร้อนจัด
ภาพประกอบ หมาป่าไฮยีนา |
ปลาแซลมอนจะว่ายจากทะเลทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ในลำธารน้ำจืด
ภาพประกอบ ปลาแซลมอนว่ายทวนกระแสน้ำไปวางไข่ |
การอพยพของนกในเขตหนาวบางชนิดมายังเขตอบอุ่นหรือเขตร้อนชั่วคราว เพื่อหาอาหารและผสมพันธุ์ แล้วอพยพกลับเมื่อสิ้นฤดูหนาว
ภาพประกอบ การอพยพของห่านป่ามนฤดูหนาว |
สัตว์จำพวกแมลง นก สัตว์เลือดเย็น และสัตว์เลือดอุ่นบางชนิด จะจำศีลในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูร้อน เพราะความลำบากในการหาอาหาร เช่น หมี กบ งูหางกระดิ่ง ดอร์เมาส์ (สัตว์ตระกูลหนูชนิดหนึ่ง) ปลาช่อน ปลาปอดออสเตรเลีย ฯลฯ
หมีขาวใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้ แล้วเข้าสู่ถ้ำเพื่อจำศีล เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว หิมะและน้ำแข็งเริ่มละลาย แสงแดดกลับมาอีกครั้ง จึงจะสิ้นสุดการจำศีล
ภาพประกอบ หมีขาว |
การจำศีล (Hibernation) คือ ระยะเวลาที่สัตว์หยุดการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำตามปกติ โดยการนอนหลับเพื่อถนอมพลังงาน ทำให้ร่างกายใช้พลังงานน้อยที่สุด เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดได้จนสิ้นสุดการจำศีล
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในด้านรูปร่างลักษณะ สรีรวิทยา และพฤติกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและดำรงชีวิตอยู่รอดได้ ไม่สูญพันธุ์ เป็นไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งลักษณะที่ปรับเปลี่ยนนี้ส่วนมากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในหน่วยพันธุกรรม จึงถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆ ไปได้ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการได้สิ่งมีชีวิตสปีชีส์หรือชนิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา และส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเช่นกัน
เสือโคร่งอ่าาาา
ตอบลบไม่มีเสือโคร่งง่ะะ
ตอบลบเนอะ
ลบขอข้อมูลโครงสร้างหมีขั้วโลก ยีราฟ และเพนกวินหน่อยคะ
ตอบลบเพนกวิน
ลบเพนกวินหายยยยย
ลบปลาล่ะ
ตอบลบเสืออออออออ
ตอบลบอาศัย มันไม่มีก็ไปหาที่อื่นดิ🖕
ลบทำไม่ไม่มีนกอินทรีอ่ะ��
ตอบลบปลาล่ะ
ตอบลบก็หาสิ
ลบไมยราบละ
ตอบลบเนื้อหาดีมากค่ะ เรื่องนำไปสู่การเรียนได้
ตอบลบไม่มีผีเสื้อ
ตอบลบขอผีเสื้อได้ไหมคะ
ตอบลบเนื้อหาดีมากคะ
ตอบลบขอบใจ
ลบผักตบชวาอะ
ตอบลบมีนะ
ลบไม่มีดอกบัวหาไงอะหาข้อมูลหลายครั้งล่ะ
ตอบลบเอาเยอะๆหน่อย
ตอบลบใช่
ลบขอข้อมูลเกี่ยวกับพืชเยอะๆๆๆๆๆๆๆหย่อย
ตอบลบน้อยจัง
ตอบลบเค้าคงไม่ว่างมาหาสิ่งมีชีวิตทุกคัวบนโลกได้หรอกจริงมั้ย
ตอบลบผักชี
ตอบลบมีน้อยไป👎🏼
ตอบลบ