วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ชุดที่ 6 รู้รักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม


         สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย

         สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติมีความสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดสมดุลธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล 

ตัวอย่างเช่น
         นอดีตจำนวนประชากรของประเทศไทยมีไม่มากนักทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการดำรงชีวิตจึงมีจำนวนพอเพียงกับประชากร ในปัจจุบันจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปจำนวนมาก ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน












ตารางแสดงจำนวนประชากรในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 - 2558
พ.ศ.
จำนวนประชากรคนไทย (ล้านคน)
2503
26.26
2513
34.40
2523
44.82
2533
54.55
2543
60.60
2553
63.88
2554
64.07
2555
64.45
2556
67.01
2557
65.12
2558
67.97
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
แผนภูมิแสดงการเพิ่มจำนวนประชากรในประเทศไทย




สาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งได้ ดังนี้

1.การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยการกระทำของมนุษย์
2.การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมจากภัยธรรมชาติ


เมื่อประชากรมนุษย์มากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติก็ถูกใช้ไปจำนวนมากเช่นกัน ทรัพยากรธรรมชาติจึงไม่พอต่อความต้องการของมนุษย์




วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากการกระทำของมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากการกระทำของมนุษย์

          มนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในการดำรงชีวิตมากมายเพื่อทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น  เช่น 

1. ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค
2. ใช้ที่ดินเพื่อที่เกษตรกรรม
3. ใช้สร้างเป็นที่อาศัยอาคารบ้านเรือน
4. ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
5. ตัดป่าไม้เพื่อใช้ที่ดินที่ร้างเป็นถนนเพื่อการสัญจรไปมา
6. นำมาผลิตเป็นยานพหานะเพื่อใช้ในการเดินทาง

ใช้ลมในการผลิตกระแสไฟฟ้า  


สร้างถนนเพื่อการสัญจรไปมา

ผลิตรถยนต์เพื่อความสะดวกในการเดินทาง

  ใช้น้ำในการอุปโภค - บริโภค


ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรจากการกระทำของมนุษย์

          เมื่อมนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ขาดความระมัดระวังและขาดการจัดการที่ดี ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ลดลง เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ตัวอย่าง เช่น


การทิ้งขยะลงทะเล เป็นการทำลายระบบนิเวศ และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล และชายฝั่ง 









ปัญหาน้ำเน่าเสีย นั้นเกิดจากการทิ้งสารเคมี ขยะลงในน้ำซึ่งนอกจากจะเป็นทำลายพืชน้ำและสัตว์น้ำแล้ว ยังเกิดผลกระทบอื่นๆอีกมากมาย เช่น น้ำเน่าทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆไม่สามารถดื่มและใช้น้ำได้, เกิดกลิ่นเหม็นเน่า, เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค, โรคระบาด ฯลฯ





การเผาขยะ นั้นเป็นการสร้างมลพิษทางอากาศ และทำให้ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลือง เช่น กระดาษและขวดพลาสติก สามารถนำมารีไซเคิลได้, ถ่านไฟฉายและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นขยะอันตราย ควรได้รับการกำจัดที่ถูกต้อง ฯลฯ



กองขยะล้นเมือง นั้นเกิดจากความมักง่ายของมนุษย์ โดยการไม่กำจัดขยะให้ถูกต้อง ทิ้งมั่ว หรือทิ้งตามๆกัน แล้วขยะไม่ได้นั้นก็สุมกันจนเป็นกลองใหญ่ ทำให้พื้นที่นั้นไม่สามารถใช้งานได้ และขยะบางชนิดนั้นก็เป็นอันตราย และทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย







วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมจากภัยธรรมชาติ

การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมจากภัยธรรมชาติ

          ภัยธรรมชาติเป็นภัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต ทั้งยังทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป เช่น

การเกิดสึนามิ

           เกิดจากมวลน้ำในทะเลและมหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง จนกลายเป็นคลื่นกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเลย แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ เช่น การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะหรือใต้ทะเล การพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ลงบนพื้นน้ำในมหาสมุทร การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล เป็นต้น
ส่งผลทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นเสียหาย เช่น ปะการังใต้น้ำ ป่าชายเลน ตลอดจนแนวชายฝั่งเปลี่ยนแปลง

ภาพประกอบ ความเสียหายจากสึนามิ

ไฟไหม้ป่า

           ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ำ ปฏิกิริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต
ส่งผลทำให้สัตว์ป่าถูกไฟคลอกตาย ป่าไม้ถูกทำลายและพืชสูญพันธุ์ พื้นดินแห้งแล้ง เกิดหมอกควันในอากาศ เป็นอันตรายต่อระบบการหายใจของคนและสัตว์

ภาพประกอบ ไฟป่า


แผ่นดินไหว

          เกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้จุดใดจุดหนึ่งบนผิวโลก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการคลายตัวอย่างรวดเร็วของความเครียดภายในเปลือกโลกในรูปแบบของการเลื่อนตัวของแผ่นดินไหวได้เช่นกัน
       ส่งผลทำให้อาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ถนน พังทลาย เสียหาย ผู้คนและสัตว์ตาย บาดเจ็บ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง

ภาพประกอบ แผ่นดินไหว

อุทกภัย ( น้ำท่วม)

          ภัยที่เกิดจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นน้ำที่ท่วมพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นครั้งคราว เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่องยาวนานไม่   สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ มีสิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของน้ำ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและมีสภาพแวดล้อมสกปรก
ภาพประกอบ น้ำท่วม




วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

         ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจนมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เรียกว่า “ การเกิดมลภาวะหรือภาวะมลพิษ ( pollution ) ” ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องร่วมมือกันในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต 

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  เป็นการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ได้นานที่สุด รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  เป็นการทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การปลูกป่าไม้เพิ่มเติม การจัดระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยในท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพของเชื้อเพลิง การพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อลดปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และไอเสียของรถยนต์ที่เป็นพิษ 


แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ



แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรดิน

1. ปลูกพืชคลุมดิน2. ปลูกหญ้าแฝก3. ปลูกพืชแบบขั้นบันไดและตามแนวระดับ4. ปลูกพืชหมุนเวียน5. เพิ่มสารอินทรีย์ในดิน6. ลดการทิ้งขยะมูลฝอยและสารมีพิษลงดิน7. ลดการใช้ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช    เพราะสารเคมีตกค้างในดิน
ภาพประกอบ การทำนาขั้นบันได


แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

1. ช่วยกันรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด ไม่ทิ้ง    ขยะสิ่งปฏิกูลลงน้ำ2. ช่วยกันจัดระบบบำบัดน้ำเสียในชุมชน   ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ3. ช่วยกันรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อ   จะได้มีน้ำใช้ต่อไป4. ช่วยกันรักษาป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ    ลำธาร5. ช่วยกันลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี    ในการเพาะปลูกหรือในบ้านเรือน

ภาพประกอบ การใช้น้ำ เราควรใช้อย่างประหยัด

แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรอากาศ

1. ลดปริมาณฝุ่นละอองและสารพิษ   ในอากาศ2. ลดปริมาณแก๊สเรือนกระจกโดยไม่   เผาป่า ไม่เผาขยะ3. ลดปริมาณแก๊สที่ทำลายชั้นโอโซน เช่น   ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร ซีเอฟซี4. อนุรักษ์ป่าเพื่อช่วยลดปัญหาอากาศเสีย    และวาตภัย

แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

1. ช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่ป่า2. ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย   หรือสร้างสถานที่พักผ่อน ตากอากาศ   หรือทำสนามกอล์ฟ3. ช่วยกันเฝ้าระวังไฟป่า ซึ่งเป็นสาเหตุ    ให้ป่าไม้ถูกทำลาย4. ขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ครอบคลุม พื้นที่มากขึ้น5. ปลูกป่าทดแทนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูก   ทำลาย7. ลดการใช้ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช    เพราะสารเคมีตกค้างในดิน




แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า

1. ไม่ทำลายป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของ   สัตว์ป่า2. ช่วยกันเฝ้าระวังไฟป่า น้ำท่วม3. กำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้าม   ล่าสัตว์ป่า4. เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในพื้นที่ธรรมชาติ   เพื่อขยายพันธุ์5. ไม่ล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารเพื่อการค้า   หรือเกมกีฬา

ภาพประกอบ การล่าสัตว์

แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรแร่

1. ใช้แร่อย่างประหยัดและคุ้มค่า2. ใช้แร่ชนิดอื่นทดแทน3. นำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่   เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่


การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

1. สร้างจิตสำนึกของคนในชุมชน สังคม ให้มีจิตใจรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
2. ทุกคนตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
3. ช่วยกันเฝ้าระวังดูแลทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นไม่ให้ใครมาทำลาย
4. ช่วยกันรักษาและไม่บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ช่วยกันปลูกป่าเพื่อทำให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ
5. บูรณะฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดให้คืนสภาพเดิม
6. ควรใช้ทรัยพากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
7. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามแนวคิด 5R  เป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอย



 เราควรแยกขยะตามสีถังหรือข้อความที่ระบุเอาไว้
ภาพประกอบ ถังขยะ