วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สารบัญ

ชุดที่ 1 ความสัมพันธ์ในสิ่งแวดล้อม


ชุดที่ 2 โซ่อาหารและสายใยอาหาร



ชุดที่ 3 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต


ชุดที่ 5 คุณค่าทรัพยากร


ชุดที่ 6 รู้รักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม





วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559

ชุดที่ 1 ความสัมพันธ์ในสิ่งแวดล้อม

         ความหมายของสิ่งแวดล้อม

               สิ่งแวดล้อม ( Environment ) หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

ประเภทของสิ่งแวดล้อม

แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มี 2 ประเภท คือ
      1.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น อากาศ ดิน ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ มหาสมุทร เป็นต้น

น้ำตก 

ภาพประกอบ น้ำตกที่ประเทศไอร์แลนด์

ทะเล

ภาพประกอบ ทะเลที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

เทือกเขา

ภาพประกอบ เทือกเขาแอลป์

        1.2     สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ ป่าไม้ พืชพรรณต่าง ๆ เป็นต้น



สัตว์

ภาพประกอบ สุนัขจิ้งจอก

     ป่าไม้

ภาพประกอบ ป่าไม้

      มนุษย์

ภาพประกอบ มนุษย์




2.  สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น มี 2 ประเภท คือ
            2.1   สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสามารถจับต้องมองเห็นได้ เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาคาร บ้านเรือน ถนน  หนทาง โบราณสถาน เป็นต้น


เครื่องแต่งกาย

ภาพประกอบ เครื่องแต่งกาย

ตึก


ภาพประกอบ ตึกแฝดที่ประเทศมาเลเซีย

 วัด

ภาพประกอบ วัดพระแก้ว

            2.2สิ่งแวดล้อมทางสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา  ความเชื่อ กฎหมาย เป็นต้น


ประเพณีลอยกระทง



ภาพประกอบ กระทงในประเพณีลอยกระทง

ศาสนาพุธ



ภาพประกอบ บิณฑบาตของพระภิกษุในศาสนาพุธ


วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ

ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ

         ระบบนิเวศ (ecosystem) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ได้แก่ ดิน น้ำ แสง ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ และมีการหมุนเวียนสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม
ภาพประกอบ ระบบนิเวศบนบก


สิ่งมีชีวิต (Organism) หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
           1. ต้องมีการเจริญเติบโต 
           2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย
           3. สืบพันธุ์ได้
           4. ประกอบไปด้วยเซลล์
           5. มีการหายใจ
           6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ
           7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ

ประชากร (Population) หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกัน

กลุมสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตตั้งแต่สองชนิดมาอยูในแหลงที่อยูเดียวกันในเวลาเดียวกัน สมาชิกแตละหนวยมีความสัมพันธ์กันโดยตรงหรือโดยทางออม และตางมีความสําคัญตอกลุมสิ่งมีชีวิต ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง  

เช่น กลุมสิ่งมีชีวิตในสระน้ำ จะประกอบด้วยประชากรปลา  หอย   กบ ลูกอ๊อด  สาหร่าย  พืชน้ำ  เป็นต้น
ภาพประกอบ   กลุมสิ่งมีชีวิตบริเวณสระน้ำ


โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน

 สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง
1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่
2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง สถานที่ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วไปเพื่อใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหาอาหาร หลบภัยจากศัตรู ผสมพันธุ์ วางไข่ เป็นต้น แหล่งที่อยู่อาศัยนี้มีขอบเขตที่แน่นอน  แต่อาจมีขนาดแตกต่างกัน


โพรงไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกระรอก




ตัวอย่างเช่น

แหล่งที่อยู่อาศัยบนบก (Terrestrial habitat) 

เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลักแบ่ง  ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ  2  ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน  ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน



แหล่งที่อยู่อาศัยในน้ำ (Aquatic  habitat)

-   แหล่งที่อยู่อาศัยในทะเลหรือมหาสมุทร (Marine Ecosystem) 
เป็นระบบนิเวศที่มีน้ำเป็นน้ำเค็ม  มีทั้งที่เป็นทะเลปิดและทะเลเปิด   เนื่องจากเป็นห้วงน้ำขนาดใหญ่  จึงนิยมแบ่งออกเป็นระบบนิเวศย่อยตามความลึกของน้ำอีกด้วย

-   แหล่งที่อยู่ที่เป็นน้ำจืด (Fresh water Ecosystem)
เป็นระบบที่น้ำเป็นน้ำจืด และเป็นสถานที่ๆสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ต้องมีการปรับตัวในด้านต่างๆเช่น มีร่างกายแข็งแรงพอที่จะต้านกระแสน้ำได้ หรือ มีพฤติกรรมว่ายทวนน้ำฯลฯ

ระบบนิเวศน้ำกร่อย  (Estuarine Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่เกิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม  มักเป็นบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำต่าง ๆ   จะมีตะกอนมากจึงมีป่าไม้กลุ่มป่าชายเลนขึ้นจึงเรียกว่า ระบบนิเวศป่าชายเลน    แต่บางพื้นที่อาจเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่


ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและแหล่งที่อยู่


กลุ่มมีชีวิตในแหล่งที่อยู่เดียวกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่นั้น

กลุ่มสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่หลายด้านเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม เช่น

ป่าชายเลน เป็นแหลงที่อยูอาศัยของสัตว์ต่างๆ
ภาพประกอบ   ป่าชายเลน

แม่น้ำ ลำธารเป็นแหล่งอาหารของหมีป่า และสิ่งมีชีวิตต่างๆ


ภาพประกอบ หมีป่าจับปลาแซลม่อนที่ลำธาร

ดอกไม้ทะเลและปะการังแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งหลบภัยของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล


ภาพประกอบ  ดอกไม้ทะเล ปลาและปะการัง


หาดทรายเป็นแหล่งวางไข่ที่ปลอดภัยของเต่าทะเล เพื่อให้เต่าทะเลได้สืบพันธุ์และดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป

ภาพประกอบ  เต่าทะเลและหาดทราย


















โครงสร้างของระบบนิเวศ

              โครงสร้างของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นระบบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ต่างจะเป็นไปอย่างมีระบบ จึงเรียกว่า ระบบนิเวศ โครงสร้างของระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                    1. โครงสร้างทางชีวภาพ 

                    โครงสร้างทางชีวภาพ (Biological Structure) ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทหน้าที่ต่างๆกัน ในระบบนิเวศ ได้แก่ 
          


           ผู้ผลิต (Producer) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง ปล่อยออกซิเจนให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ผู้ผลิตที่พบเสมอในบริเวณสระน้ำ ได้แก่ ต้นหญ้า สาหร่ายห่างกระรอก สาหร่ายพุงชะโด บัว จอก ผักตบชวา แหน รวมทั้งผู้ผลิตขนาดเล็กๆที่ลอยไปตามผิวน้ำที่เรียกว่า แพลงก์ตอนพืช ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารชั้นต้นในระบบนิเวศ 



                            

           ผู้บริโภค (Consumer) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตประเภทที่สร้างอาหารเองไม่ได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ เช่น ไรน้ำ หนอนจักร หนอนแดง ตัวอ่อนของแมลงชนิดต่างๆ กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น

รูปประกอบ ราบนชีส
      




     ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้แต่จะได้อาหารจากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เช่น เห็ด รา และจุลินทรีย์ต่างๆ





                  ๒. โครงสร้างทางกายภาพ                  

                    โครงสร้างทางกายภาพ (Physiological Structure) ประกอบด้วยสิ่งไม่มีชีวิตแต่มีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
 อนินทรียสาร (Inorganic Substance)  ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน น้ำ ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ

อินทรียสาร (Organic Substance) ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฯลฯ ซึ่งพืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลาย ทำการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์
 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้แก่ แสง อุณหภูมิความชื้น น้ำฝน






วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเภทของระบบนิเวศ

      ประเภทของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems)  

               เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลักแบ่ง  ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ  2  ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน ระบบนิเวศบนบกนั้นพอแบ่งออกได้ ดังนี้

             1.1 ระบบนิเวศป่าไม้  (Forest Ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้  สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ ดังนี้

                 1) ระบบนิเวศป่าไม้เขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ  ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา  เป็นต้น

                 2) ระบบนิเวศป่าไม้เขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ป่าเมดิเตอร์เรเนียน

                 3) ระบบนิเวศป่าไม้เขตหนาว ได้แก่ ระบบนิเวศป่าสน

                 4)  ระบบนิเวศป่าชายฝั่ง (ป่าชายเลน  ป่าชายหาด  ป่าโขดหิน)

ภาพประกอบ ป่าเต็งรัง



ภาพประกอบ ป่าสน


1.2 ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้า (Grassland Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีพืชตระกูลหญ้าเป็นพืชเด่น  แบ่งได้ดังนี้

                 1) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าสะวันนา  โดยมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกที่รูจักกันในนามทุ่งหญ้าซาฟารี
                 2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าแพรรี่ทุ่งหญ้าสเตปป์
                 3) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตหนาว  ทุ่งหญ้าทุนดรา

 
ภาพประกอบ ทุ่งหญ้าทุนดรา

ภาพประกอบ ทุ่งหญ้าสะวันนา
  


          1.3 ระบบนิเวศทะเลทราย (Desert Ecosystem)  เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปริมาณการระเหยน้ำ  แต่บางพื้นที่อาจมีฝนตกบ้างเล็กน้อยก็จะมีหญ้าเขตแห้งแล้งงอกงามได้  ได้แก่
                 1) ระบบนิเวศน์ทะเลทรายเขตร้อน   ทะเลทรายเขตอบอุ่น
                 2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน

 
ภาพประกอบ ทะเลทรายซาฮารา


2. ระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic Ecosystems)  
               เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก  ซึ่งโครงสร้างหลัก คือ น้ำนั่นเอง  แบ่งออกได้ ดังนี้
                      2.1  ระบบนิเวศน้ำจืด  (Fresh water Ecosystem)  เป็นระบบที่น้ำเป็นน้ำจืด อาจแบ่งย่อยเป็น
                          2.1.1   ระบบนิเวศน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ทะเลสาบ เป็นต้น
                          2.1.2   ระบบนิเวศน้ำไหล เช่น ลำธาร ห้วย แม่น้ำ เป็นต้น

ภาพประกอบ แม่น้ำโขง


                      2.2  ระบบนิเวศน้ำกร่อย  (Estuarine Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่เกิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม  มักเป็นบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำต่าง ๆ   จะมีตะกอนมากจึงมีป่าไม้กลุ่มป่าชายเลนขึ้นจึงเรียกว่า  ระบบนิเวศป่าชายเลน    แต่บางพื้นที่อาจเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่  เช่น ทะเลสงขลาตอนกลางก็จะมีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำกร่อยมีพืชน้ำสลับกับป่าโกงกาง



ภาพประกอบ ทะเลสาบสงขลา
เครดิตรูปภาพ: https://th.wikipedia.org/wiki/ทะเลสาบสงขลา




                      2.3   ระบบนิเวศน้ำเค็ม (Marine Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีน้ำเป็นน้ำเค็ม  โดยปกติจะมีความเค็มประมาณพันละ 35  มีทั้งที่เป็นทะเลปิดและทะเลเปิด   เนื่องจากเป็นห้วงน้ำขนาดใหญ่  


ภาพประกอบ ทะเล